ราชวงศ์โมริยะ (ค.ศ. 220 - ค.ศ. 385) ของ ประวัติศาสตร์อินเดีย

ดูบทความหลักที่: จักรวรรดิมคธ และ ราชวงศ์โมริยะ

ประมาณ ค.ศ. 200 แคว้นมคธภายใต้ราชวงศ์นันทาแผ่อิทธิพลไปทั่วอินเดียเหนือกลืนกินมหาชนบททั้งหลายจนหมดแล้ว แต่ใน ค.ศ. 223 โกติลยะ จนักขยะ ปราชญ์คนหนึ่งได้ขอเข้ารับราชการกับทางแคว้นมคธ แต่พระเจ้าธนาแห่งนันทาทรงปฏิเสธ ทำให้โกติลยะแค้น จึงยุยงเจ้าชายจันทรคุปต์ โมริยะ เข้ายึดบัลลังก์จากราชวงศ์นันทา ตั้งราชวงศ์โมริยะ พระเจ้าจันทรคุปต์ทรงขับพวกกรีกออกจากปัญจาบและคันธาระ และได้ดินแดนจากเปอร์เซียมาบางส่วน และบุกลงไปทางใต้ ยึดได้อินเดียเกือบทั้งทวีป ยกเว้นกลิงครัฐ

ต่อมาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงมุ่งมั่นมากที่จะยึดกลิงครัฐ ประมาณ ค.ศ. 270 จึงทรงทำสงครามอย่างหนักทำให้ชาวแคว้นกลิงครัฐตายเป็นเบือ พระเจ้าอโศกทรงสำนึกและหันเข้าหาพระพุทธศาสนาเพื่อชดเชยบาปที่ทรงเคยก่อ หลักฐานที่สำคัญในสมัยพระเจ้าอโศกคือเสาต่างที่พระเจ้าอโศกทรงให้สลักพระราชโองการลงไป เรียกว่า เสาพระเจ้าอโศก ซึ่งกระจายทั่วอินเดีย พระเจ้าอโศกทรงส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามดินแดนต่าง ๆ เป็นการแพร่กระจายพระพุทธศาสนาไปยังดินแดนอื่น

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติศาสตร์อินเดีย